ดินแดนมนต์ขลังแห่งท้องทะเล ใครได้มาเยือนเหมือนได้มาซึ่งแก้วแหวนเงินทองแห่งความทรงจำ สำหรับนักดำน้ำผู้มุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ซึ่งความสวยงามของธรรมชาติใต้ทะเล กระบี่ คือจุดมุ่งหมายแห่งความต้องการนั้น หลังจากแพ็คกระเป๋าดำน้ำ โดยไม่ลืมหยิบเร็กกูเลเตอร์ตัวใหม่ถอดด้าม เพื่อให้มันได้สัมผัสซึ่งความเค็มเป็นครั้งแรก หลังจากใช้ของเก่าเก็บมาเกือบ 10 ปีทริปนี้เราได้เพื่อนร่วมทางหลายคนโดยการแนะนำจากกระบี่ออนทัวร์ และกระบี่สกาย ทริปนี้เรายังได้เจอกับเจ้าฉลามวาฬเป็นเพื่อนร่วมทางอีกด้วย
นอกจากความลิงโลดที่ได้เจอกับเจ้าฉลามวาฬที่ไม่พบไม่เจอ กันมาหลายปีแล้ว สิ่งที่น่าดีใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปะการังอ่อนที่บริเวณหินแดงหินม่วงที่เคยมีข่าวคึกโครมกันในปี 2550-2551 ว่าเกิดการล้มตายกันขนานใหญ่เนื่องจากปรากฏการณ์น้ำทะเลเย็นจัดพัดผ่านเข้า มาอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนิลโญ ทำให้ปะการังอ่อนที่หินแดงและหินม่วงตายไปมากมายจนแทบจะเหลือแต่หินโล้น ๆ ซึ่งระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ท้องทะเลก็กลับฟื้นคืนชีวิตให้ปะการังอ่อนที่นี่ก่อเกิดและเติบโตขึ้นมาได้ มากมายจนปกคลุมไปทั่วทั้งกองหิน แน่นขนัดงดงามกว่าเดิมเสียอีก ซึ่งผมไม่รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับปะการังอ่อนที่หินแดง หินม่วงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วฟื้นคืนสภาพกลับมางดงามได้อย่างรวดเร็วในวันนี้นั้น ได้มีนักวิชาการของกระบี่ทำการติดตามศึกษาไว้บ้างหรือไม่ เพราะการฟื้นคืนสภาพของธรรมชาติในแนวปะการังนั้นอาจจะใช้ระยะเวลาเร็วกว่า ที่เราคิดหรือเราเคยเชื่อกันมากทีเดียว ยิ่งตอนนี้เพิ่งเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ปะการังตายไปมากมายเป็นบริเวณกว้างจนต้องมีการสั่งปิดจุดดำน้ำไปหลายแห่ง เมื่อต้นปี หากจะมีการศึกษาโดยถ่ายภาพหรือวัดระดับการก่อเกิด การเติบโตของปะการังชนิดต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ เอาไว้ เราก็อาจจะทราบความจริง และทราบความเป็นไปของธรรมชาติในแนวปะการังทะเลกระบี่ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะนำมาเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้ทรัพยากรทางทะเลในอนาคต ซึ่งน่าจะดีกว่าการสรุปโดยการคาดเดาหรือการใช้ทฤษฎีความเชื่อเก่าๆมาถกเถียง กัน ใครที่อยู่ในแวดวงวิชาการที่เกี่ยวข้องหรือนักวิชาการของอุทยานฯ เจ้าของพื้นที่จะเริ่มต้นลงมือศึกษาวันนี้ก็ยังไม่สายครับ ศึกษาแล้วได้ผลการศึกษาอย่างไรนำมาบอกเล่าสู่สาธารณะชนให้รับรู้ก็จะเป็น ประโยชน์ยิ่งต่อคนรักทะเลกระบี่
แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความประทับใจในทริปนี้ก็คงต้องยกให้กับการลงดำน้ำ ที่บริเวณหินแดง หินม่วง ซึ่งเป็นหินกลางน้ำที่ตั้งอยู่กลางผืนทะเลกว้างนอกชายฝั่ง ห่างจากเกาะรอกเขตจังหวัดกระบี่ออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ใช้เวลาวิ่งเรือราว 2 ชั่วโมง กองหินทั้งสองมีลักษณะคล้ายกับภูเขาขนาดย่อมๆ ตั้งชันขึ้นมาจากพื้นทะเล โดยหินแดงมียอดหินโผล่พ้นน้ำขึ้นมาปริ่มๆ ราวเมตร 2 เมตร ในขณะที่หินม่วงนั้นยอดหินจมอยู่ใต้ผืนน้ำในระดับความลึกราว 10 เมตร หินทั้งสองตั้งอยู่ห่างกันราวสัก 500 เมตร หินแดงและหินม่วงเป็นสุดยอดของแหล่งดำน้ำที่สวยงามจุดหนึ่งของท้องทะเล อันดามันตอนใต้เลยทีเดียว โดยจุดเด่นของหินแดงก็คือทั้งกองหินจะปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีแดงเต็มไป หมด ในขณะที่หินม่วงนั้นทั้งกองหินก็จะปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีม่วงเกือบเต็ม ไปทั้งกองหินเช่นกัน และด้วยความเป็นกองหินกลางทะเลตั้งขึ้นมาโดดเด่น ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมของสรรพชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝูงปลานานาชนิดเช่นฝูงปลากล้วย ฝูงปลากะพง ฝูงปลาสาก ฝูงปลาทูน่า ฝูงปลาหูช้าง และปลาสวยงามตามแนวปะการังเช่นปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว เป็นต้น ในขณะที่ปลาใหญ่อย่างกระเบนราหู และปลาฉลามวาฬนั้น ที่หินแดงหินม่วงในระยะหลัง ๆ นี้ ก็เป็นแหล่งดำน้ำที่พบเจอทั้งปลากระเบนราหูและปลาฉลามวาฬได้บ่อยครั้ง โดยในเที่ยวนี้เราก็โชคดีที่พบเจอกับปลาฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลกระบี่เข้าอย่างจัง โดยพบถึง 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกมีขนาดเล็กหน่อย ขนาดเล็กๆ ความยาวของลำตัวจดปลายหางก็ราวสัก 5 เมตรเห็นจะได้ ว่ายผ่านเข้ามากลางกองหินสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับพวกเราเป็นอย่างยิ่ง ในขณะฉลามวาฬอีกตัวมีขนาดใหญ่กว่า โดยมีความยาวราว 6-7 เมตรเลยทีเดียว ว่ายผ่านเข้ามาโดยโบกแพนหางขนาดใหญ่ไปมาอย่างช้า ๆ ในขณะที่พวกเราสลับเท้าเตะฟินเพื่อตามถ่ายภาพกันเป็นระวิง เจ้าฉลามวาฬทั้งสองตัวว่ายผ่านไปผ่านมาให้เราตามกันอยู่ 2 ไดฟ์แล้วหายลับไป ซึ่งเท่านั้นก็เพียงพอกับความอิ่มเอิบที่มากมายเกินคาด เพราะในระยะปีหลัง ๆ มานี้ ฉลามวาฬกลายเป็นปลาที่หาดูได้ยากเต็มทีในแหล่งดำน้ำบ้านเรา ในขณะที่กระเบนราหูหรือแมนต้าเรย์นั้น สามารถจะพบเจอกันได้โดยไม่ยากนัก เที่ยวนี้จึงเป็นการปิดฤดูกาลดำน้ำทางฝั่งอันดามันที่ดียิ่งของผมเลยทีเดียว
อากาศที่แปรปรวนอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อนทำเอาฤดูกาลแปรเปลี่ยนไปหมด ไม่เฉพาะแต่ผู้คนที่ต้องประสบกับภัยธรรมชาติที่แปรปรวนอย่างหนัก จนแม้แต่พืชและสัตว์ก็ยังสับสนงุนงง ไม่รู้ว่าวันนี้เป็นฤดูกาลอะไรกันแน่ และจะปรับตัวหรือทำตัวอย่างไรถึงจะถูก อย่างพืชบางชนิดจะทิ้งใบเหลือแต่กิ่งก้านก่อนที่จะผลิดอกเต็มต้นในช่วงกลาง ฤดูร้อน แล้วค่อยแตกใบเมื่อดอกร่วงหมดตอนเริ่มจะมีฝน ก็ต้องแตกใบเขียวขจีออกมาพร้อมๆกับดอกเพราะฝนโปรยปรายลงมาอย่างหนักจนราก ชุ่มฉ่ำ กบเขียดที่เคยขุดรูจำศีลในช่วงหน้าแล้งก็ถูกปลุกด้วยสายฝนอันชุ่มฉ่ำให้ขึ้น มาจับคู่ผสมพันธุ์ พืชพรรณหลายชนิดก็ผลิดอกออกผลผิดเวลาผิดฤดูกาล ซึ่งนั่นเป็นตัวอย่างของความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้
การท่องเที่ยวทางทะเลกระบี่ฝั่งอันดามันปีนี้ก็ค่อนข้างจะแปรปรวนเอามาก ๆ เพราะกลางมีนาคม-เมษายน ที่เคยเป็นเวลาคลื่นลมเงียบสงบ ท่องเที่ยวหมู่เกาะ ดำน้ำดูปะการังกันได้สนุกสนาน ก็ต้องสับสนวุ่นวายกับฟ้าฝนคลื่นลม บางทริปไปเที่ยวเกาะด้วยเรือเร็ว แต่ต้องกลับด้วยเรือรบก็มีเพราะคลื่นลมรุนแรงจนติดเกาะกันเป็นแถว ซึ่งพอคลื่นลมสงบเงียบทะเลเรียบได้หน่อยก็ถึงเวลาปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทาง ฝั่งทะเลอันดามันเสียแล้ว โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันปีนี้ประกาศปิดอุทยาน ฯ วันที่ 30 เมษายน ทำให้บรรดาเรือบริการดำน้ำที่ไม่รู้กำหนดประกาศปิดพานักดำน้ำเดินทางออกไปใน ช่วงหยุดยาววันแรงงาน 1 พฤษภาคม ต้องผิดหวังถูกไล่จับ ไล่กลับออกจากพื้นที่อุทยานฯ กันเป็นแถวโดยไม่มีการอะลุ่มอะหล่วย ก็ถือเป็นความซวยของผู้ประกอบการไป
ผมค่อนข้างโชคดีครับที่ไปดำน้ำปิดฤดูกาลอันดามันตอนต้นเดือนพฤษภาคมในเส้นทางอันดามันใต้ บริเวณหมู่เกาะห้าใหญ่ กับหินแดง-หินม่วง ซึ่ง บริเวณนั้นอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งเขาไม่ได้ประกาศปิดจึงไม่ต้องถูกไล่เหมือนเรืออพยพอย่างที่หมู่เกาะสิมิ ลัน และที่สำคัญไปดำน้ำส่งท้ายปิดฤดูกาลท่องเที่ยวอันดามันปีนี้ ได้พบได้เจออะไรดีๆ ที่ประทับใจและก่อให้เกิดความหวังกับท้องทะเลไทยขึ้นมาอย่างมากเลยทีเดียว ครับ
ออกจากท่าน้ำเมาที่กระบี่กันเกือบเที่ยงคืน เรือภาณุนีก็พาเรามาถึงหมู่เกาะห้าในตอนเช้าตรู่ ซึ่งเป็นเกาะหินเล็ก ๆ 5 เกาะรวมตัวอยู่ด้วยกันในเขตน่านน้ำจังหวัดกระบี่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของ เกาะลันตา ซึ่งที่นั่นเราลงดำน้ำกันที่เกาะ 5 เหนือ ซึ่งบริเวณลานทรายใต้น้ำหน้าเกาะมีดงปะการังอ่อนชนิดต้นใหญ่อวบขาว ขึ้นอยู่มากมายเป็นพื้นที่กว้างเกือบสนามบาสเกตบอลเลยทีเดียว เป็นดงปะการังอ่อนที่ยังคงสมบูรณ์มาก เห็นแล้วก็น่าชื่นใจที่ยังมีแหล่งดำน้ำที่มีปะการังอ่อนที่สวยงามสมบูรณ์ เช่นนี้เหลืออยู่ในท่ามกลางข่าวร้ายว่าปะการังฟอกขาวและตายไปเป็นบริเวณ กว้างทั่วทั้งทะเลอันดามันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากลานปะการังอ่อนที่สมบูรณ์บริเวณเกาะห้าเหนือแล้ว หมู่เกาะห้านี้ยังมีถ้ำใต้น้ำที่สวยงามท้าทายให้ดำให้มุดกันมากมายหลายถ้ำ ทั้งโพรงถ้ำขนาดใหญ่ โพรงถ้ำขนาดเล็ก และมาเที่ยวนี้เราพบฝูงปลากล้วยจำนวนมากมายเป็นพัน ๆ ตัวรวมฝูงกันอยู่บริเวณลานหน้าปากถ้ำ ทำให้เกิดความรู้สึกชุ่มชื่นขึ้นมาหน่อยว่าทะเลไทยของเราก็ยังมีความอุดม สมบูรณ์ให้เห็น
อ้างอิง : http://www.manager.co.th
กระบี่สกาย http://krabisky.weebly.com
Read More ...
นอกจากความลิงโลดที่ได้เจอกับเจ้าฉลามวาฬที่ไม่พบไม่เจอ กันมาหลายปีแล้ว สิ่งที่น่าดีใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปะการังอ่อนที่บริเวณหินแดงหินม่วงที่เคยมีข่าวคึกโครมกันในปี 2550-2551 ว่าเกิดการล้มตายกันขนานใหญ่เนื่องจากปรากฏการณ์น้ำทะเลเย็นจัดพัดผ่านเข้า มาอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนิลโญ ทำให้ปะการังอ่อนที่หินแดงและหินม่วงตายไปมากมายจนแทบจะเหลือแต่หินโล้น ๆ ซึ่งระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ท้องทะเลก็กลับฟื้นคืนชีวิตให้ปะการังอ่อนที่นี่ก่อเกิดและเติบโตขึ้นมาได้ มากมายจนปกคลุมไปทั่วทั้งกองหิน แน่นขนัดงดงามกว่าเดิมเสียอีก ซึ่งผมไม่รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับปะการังอ่อนที่หินแดง หินม่วงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วฟื้นคืนสภาพกลับมางดงามได้อย่างรวดเร็วในวันนี้นั้น ได้มีนักวิชาการของกระบี่ทำการติดตามศึกษาไว้บ้างหรือไม่ เพราะการฟื้นคืนสภาพของธรรมชาติในแนวปะการังนั้นอาจจะใช้ระยะเวลาเร็วกว่า ที่เราคิดหรือเราเคยเชื่อกันมากทีเดียว ยิ่งตอนนี้เพิ่งเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ปะการังตายไปมากมายเป็นบริเวณกว้างจนต้องมีการสั่งปิดจุดดำน้ำไปหลายแห่ง เมื่อต้นปี หากจะมีการศึกษาโดยถ่ายภาพหรือวัดระดับการก่อเกิด การเติบโตของปะการังชนิดต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ เอาไว้ เราก็อาจจะทราบความจริง และทราบความเป็นไปของธรรมชาติในแนวปะการังทะเลกระบี่ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะนำมาเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้ทรัพยากรทางทะเลในอนาคต ซึ่งน่าจะดีกว่าการสรุปโดยการคาดเดาหรือการใช้ทฤษฎีความเชื่อเก่าๆมาถกเถียง กัน ใครที่อยู่ในแวดวงวิชาการที่เกี่ยวข้องหรือนักวิชาการของอุทยานฯ เจ้าของพื้นที่จะเริ่มต้นลงมือศึกษาวันนี้ก็ยังไม่สายครับ ศึกษาแล้วได้ผลการศึกษาอย่างไรนำมาบอกเล่าสู่สาธารณะชนให้รับรู้ก็จะเป็น ประโยชน์ยิ่งต่อคนรักทะเลกระบี่
แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดแห่งความประทับใจในทริปนี้ก็คงต้องยกให้กับการลงดำน้ำ ที่บริเวณหินแดง หินม่วง ซึ่งเป็นหินกลางน้ำที่ตั้งอยู่กลางผืนทะเลกว้างนอกชายฝั่ง ห่างจากเกาะรอกเขตจังหวัดกระบี่ออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ใช้เวลาวิ่งเรือราว 2 ชั่วโมง กองหินทั้งสองมีลักษณะคล้ายกับภูเขาขนาดย่อมๆ ตั้งชันขึ้นมาจากพื้นทะเล โดยหินแดงมียอดหินโผล่พ้นน้ำขึ้นมาปริ่มๆ ราวเมตร 2 เมตร ในขณะที่หินม่วงนั้นยอดหินจมอยู่ใต้ผืนน้ำในระดับความลึกราว 10 เมตร หินทั้งสองตั้งอยู่ห่างกันราวสัก 500 เมตร หินแดงและหินม่วงเป็นสุดยอดของแหล่งดำน้ำที่สวยงามจุดหนึ่งของท้องทะเล อันดามันตอนใต้เลยทีเดียว โดยจุดเด่นของหินแดงก็คือทั้งกองหินจะปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีแดงเต็มไป หมด ในขณะที่หินม่วงนั้นทั้งกองหินก็จะปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีม่วงเกือบเต็ม ไปทั้งกองหินเช่นกัน และด้วยความเป็นกองหินกลางทะเลตั้งขึ้นมาโดดเด่น ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมของสรรพชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝูงปลานานาชนิดเช่นฝูงปลากล้วย ฝูงปลากะพง ฝูงปลาสาก ฝูงปลาทูน่า ฝูงปลาหูช้าง และปลาสวยงามตามแนวปะการังเช่นปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว เป็นต้น ในขณะที่ปลาใหญ่อย่างกระเบนราหู และปลาฉลามวาฬนั้น ที่หินแดงหินม่วงในระยะหลัง ๆ นี้ ก็เป็นแหล่งดำน้ำที่พบเจอทั้งปลากระเบนราหูและปลาฉลามวาฬได้บ่อยครั้ง โดยในเที่ยวนี้เราก็โชคดีที่พบเจอกับปลาฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลกระบี่เข้าอย่างจัง โดยพบถึง 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกมีขนาดเล็กหน่อย ขนาดเล็กๆ ความยาวของลำตัวจดปลายหางก็ราวสัก 5 เมตรเห็นจะได้ ว่ายผ่านเข้ามากลางกองหินสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับพวกเราเป็นอย่างยิ่ง ในขณะฉลามวาฬอีกตัวมีขนาดใหญ่กว่า โดยมีความยาวราว 6-7 เมตรเลยทีเดียว ว่ายผ่านเข้ามาโดยโบกแพนหางขนาดใหญ่ไปมาอย่างช้า ๆ ในขณะที่พวกเราสลับเท้าเตะฟินเพื่อตามถ่ายภาพกันเป็นระวิง เจ้าฉลามวาฬทั้งสองตัวว่ายผ่านไปผ่านมาให้เราตามกันอยู่ 2 ไดฟ์แล้วหายลับไป ซึ่งเท่านั้นก็เพียงพอกับความอิ่มเอิบที่มากมายเกินคาด เพราะในระยะปีหลัง ๆ มานี้ ฉลามวาฬกลายเป็นปลาที่หาดูได้ยากเต็มทีในแหล่งดำน้ำบ้านเรา ในขณะที่กระเบนราหูหรือแมนต้าเรย์นั้น สามารถจะพบเจอกันได้โดยไม่ยากนัก เที่ยวนี้จึงเป็นการปิดฤดูกาลดำน้ำทางฝั่งอันดามันที่ดียิ่งของผมเลยทีเดียว
อากาศที่แปรปรวนอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อนทำเอาฤดูกาลแปรเปลี่ยนไปหมด ไม่เฉพาะแต่ผู้คนที่ต้องประสบกับภัยธรรมชาติที่แปรปรวนอย่างหนัก จนแม้แต่พืชและสัตว์ก็ยังสับสนงุนงง ไม่รู้ว่าวันนี้เป็นฤดูกาลอะไรกันแน่ และจะปรับตัวหรือทำตัวอย่างไรถึงจะถูก อย่างพืชบางชนิดจะทิ้งใบเหลือแต่กิ่งก้านก่อนที่จะผลิดอกเต็มต้นในช่วงกลาง ฤดูร้อน แล้วค่อยแตกใบเมื่อดอกร่วงหมดตอนเริ่มจะมีฝน ก็ต้องแตกใบเขียวขจีออกมาพร้อมๆกับดอกเพราะฝนโปรยปรายลงมาอย่างหนักจนราก ชุ่มฉ่ำ กบเขียดที่เคยขุดรูจำศีลในช่วงหน้าแล้งก็ถูกปลุกด้วยสายฝนอันชุ่มฉ่ำให้ขึ้น มาจับคู่ผสมพันธุ์ พืชพรรณหลายชนิดก็ผลิดอกออกผลผิดเวลาผิดฤดูกาล ซึ่งนั่นเป็นตัวอย่างของความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้
การท่องเที่ยวทางทะเลกระบี่ฝั่งอันดามันปีนี้ก็ค่อนข้างจะแปรปรวนเอามาก ๆ เพราะกลางมีนาคม-เมษายน ที่เคยเป็นเวลาคลื่นลมเงียบสงบ ท่องเที่ยวหมู่เกาะ ดำน้ำดูปะการังกันได้สนุกสนาน ก็ต้องสับสนวุ่นวายกับฟ้าฝนคลื่นลม บางทริปไปเที่ยวเกาะด้วยเรือเร็ว แต่ต้องกลับด้วยเรือรบก็มีเพราะคลื่นลมรุนแรงจนติดเกาะกันเป็นแถว ซึ่งพอคลื่นลมสงบเงียบทะเลเรียบได้หน่อยก็ถึงเวลาปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทาง ฝั่งทะเลอันดามันเสียแล้ว โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันปีนี้ประกาศปิดอุทยาน ฯ วันที่ 30 เมษายน ทำให้บรรดาเรือบริการดำน้ำที่ไม่รู้กำหนดประกาศปิดพานักดำน้ำเดินทางออกไปใน ช่วงหยุดยาววันแรงงาน 1 พฤษภาคม ต้องผิดหวังถูกไล่จับ ไล่กลับออกจากพื้นที่อุทยานฯ กันเป็นแถวโดยไม่มีการอะลุ่มอะหล่วย ก็ถือเป็นความซวยของผู้ประกอบการไป
ผมค่อนข้างโชคดีครับที่ไปดำน้ำปิดฤดูกาลอันดามันตอนต้นเดือนพฤษภาคมในเส้นทางอันดามันใต้ บริเวณหมู่เกาะห้าใหญ่ กับหินแดง-หินม่วง ซึ่ง บริเวณนั้นอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งเขาไม่ได้ประกาศปิดจึงไม่ต้องถูกไล่เหมือนเรืออพยพอย่างที่หมู่เกาะสิมิ ลัน และที่สำคัญไปดำน้ำส่งท้ายปิดฤดูกาลท่องเที่ยวอันดามันปีนี้ ได้พบได้เจออะไรดีๆ ที่ประทับใจและก่อให้เกิดความหวังกับท้องทะเลไทยขึ้นมาอย่างมากเลยทีเดียว ครับ
ออกจากท่าน้ำเมาที่กระบี่กันเกือบเที่ยงคืน เรือภาณุนีก็พาเรามาถึงหมู่เกาะห้าในตอนเช้าตรู่ ซึ่งเป็นเกาะหินเล็ก ๆ 5 เกาะรวมตัวอยู่ด้วยกันในเขตน่านน้ำจังหวัดกระบี่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของ เกาะลันตา ซึ่งที่นั่นเราลงดำน้ำกันที่เกาะ 5 เหนือ ซึ่งบริเวณลานทรายใต้น้ำหน้าเกาะมีดงปะการังอ่อนชนิดต้นใหญ่อวบขาว ขึ้นอยู่มากมายเป็นพื้นที่กว้างเกือบสนามบาสเกตบอลเลยทีเดียว เป็นดงปะการังอ่อนที่ยังคงสมบูรณ์มาก เห็นแล้วก็น่าชื่นใจที่ยังมีแหล่งดำน้ำที่มีปะการังอ่อนที่สวยงามสมบูรณ์ เช่นนี้เหลืออยู่ในท่ามกลางข่าวร้ายว่าปะการังฟอกขาวและตายไปเป็นบริเวณ กว้างทั่วทั้งทะเลอันดามันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากลานปะการังอ่อนที่สมบูรณ์บริเวณเกาะห้าเหนือแล้ว หมู่เกาะห้านี้ยังมีถ้ำใต้น้ำที่สวยงามท้าทายให้ดำให้มุดกันมากมายหลายถ้ำ ทั้งโพรงถ้ำขนาดใหญ่ โพรงถ้ำขนาดเล็ก และมาเที่ยวนี้เราพบฝูงปลากล้วยจำนวนมากมายเป็นพัน ๆ ตัวรวมฝูงกันอยู่บริเวณลานหน้าปากถ้ำ ทำให้เกิดความรู้สึกชุ่มชื่นขึ้นมาหน่อยว่าทะเลไทยของเราก็ยังมีความอุดม สมบูรณ์ให้เห็น
อ้างอิง : http://www.manager.co.th
กระบี่สกาย http://krabisky.weebly.com