Latest Stories



จากการพบรอยพระพุทธบาท ที่เมืองสระบุรี พ.ศ. 2145สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
จึงเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทโดยทางชลมารค และสถลมารค
และได้โปรดเกล้าให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับระหว่างทาง และสันนิษฐานว่าได้โปรดฯ
ให้สร้างตำหนักขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่ตำบลริดวัดเทพจันทร์ ใกล้แม่น้ำป่าสัก ซึ่งสันนิษฐานว่า
ตำหนักนี้คงถูกแปลงเป็นวิหารในวัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยา ต่อจากนั้นมาทุกพระองค์จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดฯให้สร้างตำหนัก รวมทั้งศาลาที่พักของพระองค์และราษฎร์
ระหว่างทางหลายแห่ง ปัจจุบันพังทลายไปแล้ว และถูกสร้างทับเป็นศาลาพระจันทร์ลอย ประดิษฐานธรรมจักรศิลา
ภายในบริเวณเดียวกันกับวัดนครหลวง
ตามหลักฐานที่ปรากฎในพงศาวดาร ในปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดฯ
ให้ช่างไปถ่ายแบบปราสาทเมืองพระนครหลวง ในประเทศกัมพูชา มาสร้างใกล้วัดเทพพระจันทร์ อำเภอนครหลวง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่า วัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาทนครหลวง
คือ เพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา
มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิมสำหรับตำหนักที่ประทับพั
กร้อนนั้น คือ ตำหนักนครหลวง การก่อสร้างปราสาทนครหลวงยังไม่แล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
และถูกทิ้ร้างอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีกษัตริย์องค์ใดสร้างต่อแต่อย่างใด จนใน พ.ศ. 2356
ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นมาโดยรวมเอาปราสาทนครหลวงเข้าไว้ในเขตวัดด้วย
และได้สร้างพระบาทสี่รอยไว้บนลานชั้นที่ 3 ของปราสาทนครหลวง ต่อมาใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2446 พระครูวิหารกิจจานุการ (ปลื้ม)
เมื่อครั้งยังเป็นพระปลัดอยู่นั้น ได้รวบรวมกำลังศรัทธาประชาชน
และพระบรมศานุวงศ์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนครหลวง ในส่วนของปราสาทนครหลวงนั้น บนลานชั้นที่ 3
ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป มณฑป พระบาทสี่รอยมณฎประจำมุม ประจำด้าน
วิหารคดเก้าอี้ศิลปะแบบจีนขึ้นแทนสิ่งก่อสร้างเดิม ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง



มณฑปพระบาทสี่รอย สร้างขึ้นบนลานชั้นบนของปราสาทนครหลวง
ตรงตำแหน่งที่เคยพบซากปรางค์ประธานเป็นมณฑปทรงจตุรมุข ขนาด 8 คูณ 19 เมตร ก่ออิฐถือปูน
มีประตูทางเข้ามุขละ 2 ประตู ที่หน้ามุขด้านตะวันตก จารึกปีที่ปฏิสังขรณ์มณฑปหลังนี้ เมื่อ พ.ศ.
2446 ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบาทสี่รอย ที่คูหามุขแต่ละมุขมีพระพุทธรูปตั้งอยู่มุขละ 2 - 4 องค์
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งแกนในของพระองค์จะเป็นหอนทราย
ชั้นส่วนของพระพุทธรูปที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระยาทสี่รอยที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจตุรมุขนี้
มีลักษณะเป็นพระบาทศิลารอยใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลึกลงไปในเนื้อหิน ตามคตินิยมทางพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
นิยมการสลักหินเป็นพุทธบูชา เปรียบรอยพระบาทกับอดีตพุทธ 4 องค์คือรอยที่หนึ่ง หมายถึง พระพุทธกกุสนธ์
รอยที่สอง หมายถึง พระพุทธโกนาคมน์ รอยที่สาม หมายถึง พระพุทธกัสสปและรอยที่สี่ หมายถึง พระพุทธโคดม




ณ สถานที่แห่งนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้กันก็คือ..ศิลาพระจันทร์ลอย
ศิลาพระจันทร์ลอย เป็นหินขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร หนาประมาณ 6 นิ้ว
ตามตำนานกล่าวว่าหินพระจันทร์ลอยนั้นลอยน้ำมาแล้วมาหยุดตรงหน้าวัดแห่งนี้



ศาลาพระจันทร์ลอย ตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครหลวงประมาณ 90 เมตร
จากการดำเนินการขุดแต่งเมื่อปีพ.ศ.2534 พบแนวพื้นปูอิฐ
ทำให้ทราบว่าศาลาพระจันทร์ลอยสร้างคร่อมทับสิ่งก่อสร้างเก่าหลังหนึ่งและจากหลักฐานเอกสารสันนิษฐานว่า
ซากสิ่งก่อสร้างนั้น คือ ตำหนักนครหลวง
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับร้อนระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปน
มัสการพระพุทธบาทสี่รอย จังหวัดสระบุรี
แต่ก่อนมาจากสภาพซากตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในระยะทางเสด็จประ
พาสมณฑลอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2421
ทำให้สันนิษฐานว่าตำหนักนครหลวงคงจะมีลักษณะเป็นตำหนักยาวอย่างพระที่นั่งจันทรพิศาลในพระนารายณ์ราชนิเวศ
น์ จังหวัดลพบุรี

ศาลาพระจันทร์ลอยที่เห็นกันในปัจจุบันเป็นอาคารจตุรมุข
เป็นของที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระปลัด (ปลื้ม)
ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูวิหารกิจจานุการอาคารทรงจตุรมุขดังกล่าวเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน
มีบันไดทางขึ้นเตี้ยภายในประดิษฐานพระจันทร์ลอยแผ่นศิลาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระจันทร์ลอย
ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปจตุรมุขนี้เดิมอยู่ที่วัดเทพพระจันทร์(ปัจจุบันชื่อวัดเทพพระจันทร์ลอย)
ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่พระวิหารกิจจานุการ
(ปลื้ม)ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่อาคารหลังนี้พระจันทร์ลอยนี้เป็นแผ่นหินแกรนิตรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2
เมตรหนา 6นิ้ว ด้านหน้าสลักเป็นรูปเจดีย์ 2 องค์ พระพุทธรูป 3 องค์
เจดีย์องค์หนึ่งเป็นรอยสลักอยู่เดิม
แต่เจดีย์อีกองค์หนึ่งและพระพุทธรูปสามองค์มีปูนปั้นพอกให้นูนเด่นออกมามากกว่าหน้าศิลาคงจะมีผู้ทำขึ้นภา
ยหลังด้านใต้มีรอยสลักลายตรงกลางมีรูปต่าง ๆ ที่ปรากฎชัดเป็นรูปปลา 2
ตัวเหมือนสัญลักษณ์ราศรีมีนต่อจากลายมาสลักเป็นลวดโค้งเหมือนรอยต้นพระบาทลายเหล่านี้ลบเลือนมากสันนิษฐาน
ได้ว่าแผ่นศิลาพระจันทร์ลอยนี้คือ ธรรมจักร ซึ่งยังทำไม่เสร็จ



เที่ยวกระบี่ ทัวร์กระบี่

Categories:

Leave a Reply